http://group.wunjun.com/whatisnippana
เมื่อเข้าใจหลักธรรมถูกถ้วนแล้ว นำไปใช้ก็เป็นมัชฌิมาปฏิปทา ลิงค์ข้างบนนำไปสู่บอร์ด์วิชาซึ่งแสดงพุทธธรรมล้วนๆ (มีคัมภีร์อ้างอิง) ต่างจากที่พูดสืบๆกันมา
ส่วนบอร์ดนี้ ปฏิบัติจริง กับ ตย. สภาวธรรมที่เผยตัวมันจนกระทบทางจิตใจ กับ วิธีแก้อารมณ์ ว่าทำยังไงจึงจะก้าวพ้น ไม่ติดตัน เพราะถ้าแก้อารมณ์ไม่สอดคล้องสภาวะ คือไม่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา ถึงเพี้ยนหรือวิปลาสได้
ตอนนี้บอร์ด ไม่เป็นที่นิยม หวังว่าสักวันเมื่อผู้ปฏิบัติกัมมัฏฐาน (เรียกชื่ออื่นๆจากนี้ก็ได้) เกิดปัญหาแก้ไม่ตก จะเป็นที่พึ่งสุดท้าย
ด้วยความปราถนาดี อย่างจริงใจ
เมื่อเข้าใจหลักธรรมถูกถ้วนแล้ว นำไปใช้ก็เป็นมัชฌิมาปฏิปทา ลิงค์ข้างบนนำไปสู่บอร์ด์วิชาซึ่งแสดงพุทธธรรมล้วนๆ (มีคัมภีร์อ้างอิง) ต่างจากที่พูดสืบๆกันมา
ส่วนบอร์ดนี้ ปฏิบัติจริง กับ ตย. สภาวธรรมที่เผยตัวมันจนกระทบทางจิตใจ กับ วิธีแก้อารมณ์ ว่าทำยังไงจึงจะก้าวพ้น ไม่ติดตัน เพราะถ้าแก้อารมณ์ไม่สอดคล้องสภาวะ คือไม่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา ถึงเพี้ยนหรือวิปลาสได้
ตอนนี้บอร์ด ไม่เป็นที่นิยม หวังว่าสักวันเมื่อผู้ปฏิบัติกัมมัฏฐาน (เรียกชื่ออื่นๆจากนี้ก็ได้) เกิดปัญหาแก้ไม่ตก จะเป็นที่พึ่งสุดท้าย
ด้วยความปราถนาดี อย่างจริงใจ
สติทำหน้าที่ทั้งในสมถะและวิปัสสนา
...
| อ่าน 25 | ตอบ 1
ขนาดตัวอักษร
สติทำกิจสำคัญทั้งในสมถะ และในวิปัสสนา หากพูดเปรียบเทียบ ระหว่างบทบาทของสติในสมถะ กับ ในวิปัสสนา อาจช่วยให้ความเข้าใจมากขึ้น
ในสมถะ สติกุมจิตไว้กับอารมณ์ หรือดึงอารมณ์ไว้กับจิต เพียงเพื่อให้จิตเพ่งแน่วแน่หรือจับแนบสนิทอยู่กับอารมณ์นั้น นิ่งสงบไม่ส่าย ไม่ซ่านไปที่อื่น เมื่อจิตแน่วแน่แนบสนิทอยู่กับอารมณ์นั้น เป็นหนึ่งเดียวต่อเนื่องไปสม่ำเสมอ ก็เรียกว่าเป็นสมาธิ และเพียงเท่านั้น สมถะก็สำเร็จ
ส่วนในวิปัสสนา สติกำหนดอารมณ์ให้แก่จิต หรือดึงจิตไว้กับอารมณ์เหมือนกัน แต่มุ่งใช้จิตเป็นที่วางอารมณ์ เพื่อเสนออารมณ์นั้นให้ปัญญาตรวจสอบพิจารณา คือจับอารมณ์ไว้ให้ปัญญาตรวจดู และวิเคราะห์วิจัยโดยใช้จิตที่ตั้งมั่น เป็นที่ทำงาน*
หากให้อุปมา ในกรณีของสมถะ เหมือนเอาเชือกผูกลูกวัวพยศไว้กับหลัก ลูกวัวจะออกไปไหนๆ ก็ไปไม่ได้ คงวนเวียนอยู่กับหลัก ในที่สุด เมื่อหายพยศ ก็หมอบนิ่งอยู่กับหลักนั้นเอง จิตเปรียบเหมือนลูกวัวพยศ อารมณ์เหมือนหลัก สติเหมือนเชื่อ
ส่วนในกรณีของวิปัสสนา เปรียบเหมือนเอาเชือกหรือเครื่องมือ ผูกตรึงคน สัตว์ หรือวัตถุบางอย่าง ไว้กับแท่นหรือเตียง แล้วตรวจดู หรือทำกิจอื่น เช่น ผ่าตัด เป็นต้น ได้ถนัดชัดเจน เชือกหรือเครื่องยึด คือ สติ คนสัตว์หรือวัตถุที่เกี่ยวข้อ คือ อารมณ์ แท่นหรือเตียงคือ จิตที่เป็นสมาธิ การตรวจหรือผ่าตัดเป็นต้นคือ ปัญญา
ในสมถะ สติกุมจิตไว้กับอารมณ์ หรือดึงอารมณ์ไว้กับจิต เพียงเพื่อให้จิตเพ่งแน่วแน่หรือจับแนบสนิทอยู่กับอารมณ์นั้น นิ่งสงบไม่ส่าย ไม่ซ่านไปที่อื่น เมื่อจิตแน่วแน่แนบสนิทอยู่กับอารมณ์นั้น เป็นหนึ่งเดียวต่อเนื่องไปสม่ำเสมอ ก็เรียกว่าเป็นสมาธิ และเพียงเท่านั้น สมถะก็สำเร็จ
ส่วนในวิปัสสนา สติกำหนดอารมณ์ให้แก่จิต หรือดึงจิตไว้กับอารมณ์เหมือนกัน แต่มุ่งใช้จิตเป็นที่วางอารมณ์ เพื่อเสนออารมณ์นั้นให้ปัญญาตรวจสอบพิจารณา คือจับอารมณ์ไว้ให้ปัญญาตรวจดู และวิเคราะห์วิจัยโดยใช้จิตที่ตั้งมั่น เป็นที่ทำงาน*
หากให้อุปมา ในกรณีของสมถะ เหมือนเอาเชือกผูกลูกวัวพยศไว้กับหลัก ลูกวัวจะออกไปไหนๆ ก็ไปไม่ได้ คงวนเวียนอยู่กับหลัก ในที่สุด เมื่อหายพยศ ก็หมอบนิ่งอยู่กับหลักนั้นเอง จิตเปรียบเหมือนลูกวัวพยศ อารมณ์เหมือนหลัก สติเหมือนเชื่อ
ส่วนในกรณีของวิปัสสนา เปรียบเหมือนเอาเชือกหรือเครื่องมือ ผูกตรึงคน สัตว์ หรือวัตถุบางอย่าง ไว้กับแท่นหรือเตียง แล้วตรวจดู หรือทำกิจอื่น เช่น ผ่าตัด เป็นต้น ได้ถนัดชัดเจน เชือกหรือเครื่องยึด คือ สติ คนสัตว์หรือวัตถุที่เกี่ยวข้อ คือ อารมณ์ แท่นหรือเตียงคือ จิตที่เป็นสมาธิ การตรวจหรือผ่าตัดเป็นต้นคือ ปัญญา
ถูกใจ: 0
แก้ไขเมื่อ 26-05-2020 19:50:59